กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอเมืองน่าน เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นายภัตพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป และนายภัทร์ศรุต คล้ายสุบรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่อำเภอเมืองน่าน เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรผสมผสานน้ำครกเก่า นาแห้ว 511 ชื่อโครงการ “จัดซื้อแม่พันธุ์โคและสุกรให้กับสมาชิก” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 10 คน โดยมีนายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตรกร (ภาคเหนือ) นายบุญยงค์ สดสอาด ประธานอนุกรรมการฯและนายสนิท มณเฑียร รองประธานอนุกรรมการฯคนที่ 1 จังหวัดน่าน ร่วมด้วย ณ หอประชุมบ้านน้ำครกเก่า หมู่ 5 ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

กฟก.น่าน ลงพื้นที่อำเภอเวียงสา เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นายภัตพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป และนายภัทร์ศรุต คล้ายสุบรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่อำเภอเวียงสา เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกองค์กรเกษตรกร จำนวน 2 องค์กร ดังนี้

1.กลุ่มรวมพลังเกษตรกร

ชื่อโครงการ “เลี้ยงโคแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มัน” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 10 คน ณ หอประชุมหมู่บ้านจอมจันทร์เหนือ ม.7 ต.จอมจันทร์ อ.เวียงสา จ.น่าน

2.กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านทุ่งทอง ม.1

ชื่อโครงการ “จัดซื้อวัวแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มันให้กับสมาชิก” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 10 คน ณ หอประชุมหมู่บ้านทุ่งทอง ม.1 ต.ทุ่งศรีทอง อ.เวียงสา จ.น่าน

โดยมีนายบัณฑิต สวยงาม กรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ประธานคณะทำงาน) นายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตรกร (ภาคเหนือ) ร.ต.อ.วินัย ก้อนสมบัติ รองประธานอนุกรรมการฯคนที่ 2 และนายอุไร สารถ้อย อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน ร่วมด้วย

เกษตรกรสมาชิก กฟก.น่าน แห่ขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร คึกคัก

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดน่าน ได้มายื่นขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร เพื่อรับการช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในระบบจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน เป็นจำนวนมาก

โดยการขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร ต้องยื่นเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนหนี้ ดังต่อไปนี้

1. คำขอขึ้นทะเบียนหนี้ ตามแบบที่สำนักงานกำหนด

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเกษตรกร

3. หลักฐานแห่งหนี้ เช่น สัญญากู้ยืม สัญญาจำนอง หรือสมุดบัญชีเงินกู้

ทั้งนี้เกษตรกร สามารถยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ศาลากลางจังหวัดน่าน ชั้น 5 โทรศัพท์ 054-716426 ในวันและเวลาราชการ

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดน่าน ครั้งที่ 2/2568

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดน่าน ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนายบุญยงค์ สดสอาด เป็นประธาน และนางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ทำหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการ ณ

ห้องประชุมเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (ชั้น 3) ศาลากลางจังหวัด อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โดยมีวาระพิจารณาในที่ประชุม ดังนี้

1.พิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 18 กุมภาพันธ์ 2568 จำนวน 142 ราย จำนวน 458 บัญชี มูลหนี้ 75,149,070.46บาท (เจ็ดสิบห้าล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นเก้าพันเจ็ดสิบบาทสี่สิบหกสตางค์)

2. พิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปีงบประมาณ 2568 กลุ่มแม่บ้านพัฒนาการเกษตรศรีนาชื่น รหัสองค์กร 5543001355 เสนองบกู้ยืม โครงการยกระดับโรงเรือนเพาะเห็ดและเพิ่มผลผลิต ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน รวมทั้งสิ้น 651,098 บาท (หกแสนห้าหมื่นหนึ่งพันเก้าสิบแปดบาทถ้วน)

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่านลงพื้นที่อำเภอแม่จริม เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกองค์กรเกษตรกร

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นายภัตพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป และนายภัทร์ศรุต คล้ายสุบรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่อำเภอแม่จริม เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกองค์กรเกษตรกร กลุ่มออมทรัพย์บ้านห้วยกอม อ.แม่จริม ชื่อโครงการ “จัดซื้อพันธุ์วัว พันธุ์สุกร และยางพารา” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 13 คน โดยมีนายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตรกร (ภาคเหนือ)และนายแทน จันอ้น อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน ร่วมด้วย ณ หอประชุมบ้านห้วยกอม หมู่ 3 ตำบลน้ำปาย อำเภอเเม่จริม จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกองค์กรเกษตรกร

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางสาวนุชจรี จันทร์น้ำสระ พนักงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ลงพื้นที่อำเภอเวียงสา เพื่อพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกองค์กรเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านพัฒนาการเกษตรศรีนาชื่น ชื่อโครงการ “ยกระดับโรงเรือนเพาะเห็ดและเพิ่มผลผลิต” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 10 คน โดยมีนายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตรกร (ภาคเหนือ) ร.ต.อ.วินัย ก้อนสมบัติ รองประธานอนุกรรมการคนที่ 2 และนายอุไร สารถ้อย อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน ร่วมด้วย ณ ที่ทำการกลุ่ม บ้านศรีนาชื่น หมู่ 4 ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่านลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการองค์กรเกษตรกร

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางสาวนุชจรี จันทร์น้ำสระ พนักงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ลงพื้นที่ อ.ทุ่งช้าง ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านเวียงสอง เพื่อติดตามและประเมินผล สรุปข้อมูล ปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติ งบประมาณประจำปี 2567 ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) ชื่อโครงการ “ต่อยอดการเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเพื่อจำหน่าย” โดยองค์กรเกษตรกรได้รับงบประมาณทั้งสิ้น จำนวนเงิน 595,000 บาท ณ ที่ทำการองค์กรบ้านเวียงสอง หมู่ 4 ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรผสมผสาน ตำบลงอบ และกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านขุนน้ำลาด เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางสาวนุชจรี จันทร์น้ำสระ พนักงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ลงพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรผสมผสาน ตำบลงอบ และกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านขุนน้ำลาด เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยมี นายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตรกร (ภาคเหนือ) และนายสมบูรณ์ ขอคำ อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน เข้าร่วมประชุมด้วย ณ หอประชุมบ้านขุนน้ำลาด หมู่ 7 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ประชุมสรุปผลการดำเนินการ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก.ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน พร้อมด้วยนางสาวภัทรวดี อนันต๊ะยศ พนักงานอาวุโส และนายจักรินทร์ ธนะสอน ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ประชุมร่วมกับนายยุทธนา ชัญถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดน่าน เพื่อสรุปผลการดำเนินการ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 (กลุ่มที่ 1) โดยมี นายยงยุทธ อินทชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ และนายวิรัช ปัญญา พนักงานบริหารจัดการหนี้ฯ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดน่าน

โดยที่ประชุมได้กำหนดแผนการติดตามเกษตรกร ที่ยังไม่ได้จัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ จำนวน 57 ราย เพื่อจัดทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568

ทั้งนี้ สำนักงานกฟก. สาขาจังหวัดน่าน ได้ส่งมอบสำเนาแบบ ปคน.1 และ ผค.1/4 (กลุ่มที่ 2) ให้สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดน่าน เพื่อจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกรสมาชิก ที่ได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง (เพิ่มเติม) ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 ธันวาคม 2567 จำนวน 61 ราย

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่านลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการองค์กรเกษตรกร

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางชุติมา ภัทรภิญโญ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป และนายภัคพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ อ.ท่าวังผา เพื่อประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกร ติดตามและประเมินผล สรุปข้อมูล ปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติ ประเภทงบกู้ยืม (ปลอดดอกเบี้ย) ณ ที่ทำการองค์กร จำนวน 2 องค์กร ดังนี้

1.กลุ่มไร่นาสวนผสมบ้านหนอง ชื่อโครงการ“จัดซื้อสุกรพ่อพันธุ์เลือดร้อยแม่พันธุ์สองสายให้กับสมาชิก” งบประมาณที่ได้รับ 763,875 บาท ณ บ้านหนอง หมู่ที่ 7 ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

2.กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อท่าวังผา ชื่อโครงการ “การผลิตโคขุนต้นน้ำและกลางน้ำเพื่อจำหน่าย” งบประมาณที่ได้รับ 315,000 บาท ณ บ้านท่าค้ำ หมู่ที่ 1 ต.ริม อ.ท่าวังผา จ.น่าน