กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดน่าน ครั้งที่ 5/2568

วันที่ 28 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 น. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดน่าน ครั้งที่ 5/2568 โดยมีนายบุญยงค์ สดสอาด เป็นประธาน และนางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ทำหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุมเจ้าสุมนเทวราช (ชั้น6) ศาลากลางจังหวัด อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โดยมีวาระพิจารณาในที่ประชุม ดังนี้

1.พิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2568 – 27 พฤษภาคม 2568 จำนวน 68 ราย จำนวน 190 บัญชี มูลหนี้ 30,909,432.79 บาท (สามสิบล้านเก้าแสนเก้าพันสี่ร้อยสามสิบสองบาทเจ็ดสิบเก้าสตางค์)

2.พิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปีงบประมาณ 2568

3.พิจารณาเห็นชอบแผนการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการสร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกร

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ร่วมลงนามเป็นพยาน ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 28 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ร่วมลงนามเป็นพยาน ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 (กลุ่มที่ 2 เพิ่มเติมรายชื่อ)

โดยมีนางจารุณี นันทฤทธิ์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาน่านร่วมดำเนินการ ณ ธ.ก.ส. สาขาน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่ เพื่อร่วมลงนามเป็นพยาน ในการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

เกษตรกรน่านเฮ กฟก.จังหวัดน่าน จับมือ ธ.ก.ส.จังหวัดน่าน เปิดสาขาวันหยุด ลุยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯเกษตรกร อ.เวียงสา และอ.นาน้อย ลดต้นเงินเหลือเพียง 50% ตามมติคณะรัฐมนตรี

วันที่ 24 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ลงพื้นที่ เพื่อร่วมลงนามเป็นพยาน ในการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส. ณ ธนาคารฯ ธ.ก.ส.สาขาเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และหอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

โดยมีนายยงยุทธ อินทชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการคุณภาพหนี้ นายวิสูตร ธนะขว้าง ผู้จัดการศูนย์จัดการคุณภาพหนี้น่าน 2 พร้อมเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. สาขาเวียงสา ธ.ก.ส. สาขานาน้อย และพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กฟก.น่าน ร่วมดำเนินการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯให้เกษตรกร อำเภอเวียงสาและอำเภอนาน้อย

ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารฯ ธ.ก.ส. และให้ผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอภูเพียง เพื่อร่วมลงนามเป็นพยาน ในการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

กฟก.จังหวัดน่าน ลงพื้นที่ อ.ภูเพียง จัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ เกษตรกร 74 รายได้ลดเงินต้นเหลือเพียง 50 % ตามมติ ครม.แล้ว

วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอภูเพียง เพื่อร่วมลงนามเป็นพยาน ในการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

โดยมีนายวิสูตร ธนะขว้าง ผู้จัดการศูนย์จัดการคุณภาพหนี้น่าน 2 พร้อมเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. สาขาภูเพียง และพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กฟก.น่าน ร่วมดำเนินการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯให้เกษตรกร อำเภอภูเพียง กลุ่มเป้าหมายสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 74 ราย

ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารฯ ธ.ก.ส. และให้ผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ดำเนินการประชุมชี้แจงและจัดทำเอกสารประกอบการทำสัญญาตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร

กฟก.น่าน จับมือ ฝ่ายบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ธ.ก.ส.ทำเอกสารรับรองสิทธิเกษตรกร เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ลดเงินต้นเหลือ 50 % ตามมติ ครม. พร้อมทำสัญญาไม่เว้นวันหยุดราชการ

วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ดำเนินการประชุมชี้แจงและจัดทำเอกสารประกอบการทำสัญญาตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 และวันที่ 8 เมษายน 2568 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส. ณ ห้องประชุมพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดน่าน

โดยมีนายยงยุทธ อินทชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการคุณภาพหนี้ นายวิสูตร ธนะขว้าง ผู้จัดการศูนย์จัดการคุณภาพหนี้น่าน 2 นายอดิศักดิ์ กุลสุ ผู้จัดการศูนย์จัดการคุณภาพหนี้ น่าน 1 นายสนิท มณเฑียร รองประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดน่าน คนที่ 2 นางณัฐริกา จารุโชติรสสกุล นางฐิติภา ทรัพย์โชคเจริญ และนายสมบูรณ์ ขอคำ อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน ร่วมดำเนินการด้วย

ทั้งนี้ขั้นตอนการดำเนินการร่วมกับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง กรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้สำนักงานสาขาจังหวัดส่งมอบสำเนาแบบ ปคน.1 หรือ แบบ ปคน.2 และแบบ ผค.1/4 ให้กับเกษตรกรแต่ละราย เพื่อใช้เป็นเอกสารในการดำเนินการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารซึ่งธนาคารจะดำเนินการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับเกษตรกร

ในส่วนของจังหวัดน่าน สำนักงาน กฟก.สาขาจังหวัดน่าน และ ฝ่ายบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ธ.ก.ส.จังหวัดน่านได้กำหนดแผนปฎิบัติการในการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯให้เกษตรกร จำนวน 286 ราย เริ่มตั้งแต่วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2568 โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ

“โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารฯ ธ.ก.ส. และให้ผ่อนชำระเงินต้นคงค้างครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ และค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐบาลจะรับภาระจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารฯ เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว”

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอเวียงสา เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 21 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ลงพื้นที่อำเภอเวียงสา เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร ตามโครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่สาขาจังหวัด โดยมี ร.ต.อ.วินัย ก้อนสมบัติ รองประธานอนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน เข้าร่วมด้วย ณ หอประชุมบ้านป่าแพะ หมู่ 3 ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอปัว เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ลงพื้นที่อำเภอปัว เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร ตามโครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่สาขาจังหวัด โดยมี นายสุบรรณ นรินทร์ อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน เข้าร่วมด้วย ณ หอประชุมบ้านน้ำยาว หมู่ 3 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอเมืองน่าน เพื่อพัฒนาแผนและโครงการ

วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางชุติมา ภัทรภิญโญ นายภัคพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไปและนายภัทร์ศรุต คล้ายสุบรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์บ้านซาวหลวง ณ หอประชุมบ้านซาวหลวง หมู่ 5 ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โดยมี นายวุฒิพันธุ์ เนตรวิชัย ปศุสัตว์จังหวัดน่าน พันจ่าเอกสุริยัน ปันชัย หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดน่าน (อนุกรรมการภาคราชการ) และนางณัฐริกา จารุโชติรสสกุล อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน คณะทำงานเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฯ ร่วมลงพื้นที่ด้วย

ทั้งนี้ องค์กรเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์บ้านซาวหลวง ยื่นเสนอแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โครงการ“เลี้ยงวัว”

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่อำเภอนาน้อยเพื่อพัฒนาแผนและโครงการ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางชุติมา ภัทรภิญโญ นายภัคพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไปและนายภัทร์ศรุต คล้ายสุบรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตการเกษตรบ้านป่ากล้วย โดยได้ยื่นเสนอแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โครงการ”เลี้ยงโค-กระบือ เพื่อจำหน่าย” ณ หอประชุมบ้านป่ากล้วย หมู่ 8 ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

โดยมี ร.ต.อ.วินัย ก้อนสมบัติ รองประธานอนุกรรมการฯ นายอุไร สารถ้อยและนายสมบูรณ์ ขอคำ อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน คณะทำงานเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฯ

ทั้งนี้ นายวุฒิพันธุ์ เนตรวิชัย ปศุสัตว์จังหวัดน่าน (อนุกรรมการฯภาคราชการ) ได้มอบหมายให้ นายอดินันท์ สารเถื่อนแก้ว เจ้าหน้าที่จ้างเหมาเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาดสัตว์ ร่วมลงพื้นที่ด้วย

กองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อำเภอเวียงสา

วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางชุติมา ภัทรภิญโญ นายภัคพงศ์ ทองฟู ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไปและนายภัทร์ศรุต คล้ายสุบรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร กลุ่มรวมพลังเกษตร ณ หอประชุมบ้านจอมจันทร์เหนือ หมู่ 7 ตำบลจอมจันทร์ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

โดยมี นายวุฒิพันธุ์ เนตรวิชัย ปศุสัตว์จังหวัดน่าน (อนุกรรมการภาคราชการ) ร.ต.อ.วินัย ก้อนสมบัติ รองประธานอนุกรรมการฯ นายอุไร สารถ้อยและนายสมบูรณ์ ขอคำ อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน คณะทำงานเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฯ ร่วมลงพื้นที่ด้วย

ทั้งนี้ องค์กรเกษตรกร กลุ่มรวมพลังเกษตร ยื่นเสนอแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โครงการ “จัดซื้อโคแม่พันธุ์ผสมบราห์มันให้กับสมาชิก”